ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาค

ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาค เป็นหน่วยราชการที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับหน่วยงานใด ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมความเสมอภาค และเข้าแทรกแซงการเลือกปฏิบัติ ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคทำหน้าที่เป็นผู้รายงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในระดับประเทศของฟินแลนด์ด้วย และมีหน้าที่ควบคุมดูแลในการดำเนินการปฏิบัติด้านการให้ออกจากประเทศ หน้าที่ของผู้ตรวจการยังรวมไปถึงการติดตามและส่งเสริมด้านสถานภาพและสิทธิของชาวต่างชาติด้วย ลักษณะงานของผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคมีความกว้างขวาง ในแต่ละหน้าที่จะเป็นการรวมการควบคุมและส่งเสริม ด้านสิทธิขั้นพื้นฐาน และสิทธิมนุษยชน 

การแทรกแซงการเลือกปฏิบัติ และ การส่งเสริมความเสมอภาค

หน้าที่หลักของผู้ตรวจการด้านความเสมอภาค คือการส่งเสริมความเสมอภาค และ ป้องกันและแทรกแซงในการเลือกปฏิบัติ หน้าที่ของผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคคือการประเมินและสร้างความแน่ใจว่าการบริหารสิทธิ์ของแต่ละบุคคลจะเป็นไปอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน หน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการได้ถูกกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ  และกฎหมายว่าด้วยผู้ตรวจการด้านความเสมอภาค

ในทางปฏิบัติแล้ว งานของผู้ตรวจการด้านความเสมอภาค ประกอบไปด้วย การให้คำปรึกษา การตรวจสอบกรณีต่าง ๆ เป็นกรณี ๆ ไป การส่งเสริมการประณีประณอมในแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การฝึกอบรม การรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการมีส่วนร่วมในหลักปฏิบัติทางกฎหมายและการปฏิบัติราชการต่าง ๆ ผู้ตรวจการสามารถส่งเรื่องเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติในบางกรณีไปดำเนินการพิจารณาต่อในคณะกรรมาธิการด้านความเสมอภาคเท่าเทียมหรือศาลยุติธรรมเพื่อให้ทำการตัดสินด้วย คณะผู้ตรวจการได้ปฏิบัติงานมากมายร่วมกับกลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียและ ปฏิบัติงานเพื่อสร้างอิทธิพลและความเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุนความเสมอภาค และเพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติ รวมถึงการเข้าแทรกแซงการเลือกปฏิบัติด้วย

คุณสามารถติดต่อมายังผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคหากคุณประสบหรือพบเห็นการเลือกปฏิบัติเนื่องจากอายุ ถิ่นกำเนิด สัญชาติ ภาษา ศาสนา ความเชื่อ ความคิดเห็น กิจกรรมทางการเมือง การปฏิบัติทางสมาคมวิชาชีพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว สุขภาพ ความพิการ รสนิยมทางเพศ หรือสาเหตุอื่น ๆ เกี่ยวกับบุคคล  

ผู้รายงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาค ทำหน้าที่เป็นผู้รายงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ในระดับประเทศของฟินแลนด์  หน้าที่ของผู้รายงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์คือ การเป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ขึ้นกับหน่วยงานใด ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศฟินแลนด์ เป้าหมายของการรายงานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์คือ การส่งเสริมให้รู้จักลักษณะของเหยื่อของการค้ามนุษย์ ให้พวกเขาได้รับความช่วยเหลือและได้ใช้สิทธิ์ของพวกเขา ผู้ตรวจการจะทำการตรวจสอบชี้แจงเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ และปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้อง ผู้ตรวจการจะให้คำปรึกษาทางกฎหมาย และในกรณีพิเศษผู้ตรวจการสามารถให้ความช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์ในศาลด้วย 
 

การควบคุมเรื่องการออกจากประเทศ

หน้าที่อีกหน้าที่หนึ่งของผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคคือ การควบคุมเรื่องการดำเนินการเนรเทศชาวต่างชาติหรือส่งตัวกลับประเทศในฐานะหน่วยราชการภายนอก ที่ไม่ขึ้นกับหน่วยงานใด  

สิ่งที่สำคัญของงานควบคุมของผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคคือ การประเมินการปฏิบัติในการส่งตัวออกนอกประเทศในมุมมองของสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน

ในทางปฏิบัติแล้ว ในงานควบคุมดูแลจะมีขอบข่ายที่มากน้อยแล้วแต่กรณี โดยอาจจะครอบคุลมการให้ออกนอกประเทศในทุกกระบวนการ หรือ อาจจะครอบคลุมเพียงบางช่วงของการให้ออกนอกประเทศเท่านั้น จุดศูนย์กลางของการควบคุม คือการส่งตัวกลับ ซึ่งตำรวจจะพาบุคคลที่ต้องถูกส่งตัวกลับไปส่ง การควบคุมดูแลจะเน้นไปที่การส่งตัวกลับของบุคคลที่อยู่ในสถานภาพที่ไม่มั่นคง รวมทั้งประเทศปลายทางที่มีปัญหา (เช่น อัฟกานิสถาน และ อิรัก) และการส่งตัวกลับที่อาจมีความเสี่ยงต่อการใช้กำลังเพิ่มขึ้น  

ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคไม่มีอำนาจในการระงับการส่งตัวกลับ การแทรกแซงการส่งตัวกลับ การใช้กำลัง หรือช่วงเวลาในการส่งตัวกลับ


การส่งเสริมสิทธิของชาวต่างชาติ

หน้าที่ของผู้ตรวจการด้านความเสมอภาค รวมไปถึงการส่งเสริมสถานภาพและสิทธิของชาวต่างชาติด้วย นอกจากนี้ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคยังมีบทบาทพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยชาวต่างชาติในการเป็นผู้ดูแลความสมบูรณ์ในการคุ้มครองสิทธิ์ตามกฎหมาย และควบคุมดูแลการใช้สิทธิ์ของพวกเขาให้ประสบความสำเร็จด้วย ผู้ตรวจการมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องเกี่ยวกับการเนรเทศผู้ขอลี้ภัย หรือ ชาวต่างชาติในบางกรณีย่อย ๆ ผู้ตรวจการยังมีสิทธิ์ในการได้รับข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับชาวต่างชาติในวงกว้างด้วย ผู้ตรวจการมีสิทธิ์เข้าถึงทะเบียนบุคคลเกี่ยวกับชาวต่างชาติ (การลงทะเบียนชาวต่างชาติ) และสิทธิ์ในการได้รับแจ้งเกี่ยวกับคำตัดสินเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยชาวต่างชาติทั้งหมด ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และศาลปกครองเป็นผู้ตัดสิน 
 

การเลือกปฏิบัติ 

การเลือกปฏิบัติคือการที่บุคคลถูกปฏิบัติด้วยอย่างย่ำแย่กว่าบุคคลอื่น เนื่องจากลักษณะส่วนตัวอย่างใดอย่างหนึ่งของเขา บุคคลทุกคนมีสิทธิ์ในการได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน และในกฎหมายระดับชาติหลาย ๆ กฎหมายของพวกเราก็มีการห้ามการเลือกปฏิบัติ คือ กฎหมายว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ และกฎหมายอาญา รวมทั้งสนธิสัญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน ตามกฎหมายว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ ระบุว่า ห้ามเลือกปฏิบัติแก่บุคคลใดใดก็ตาม เนื่องจากอายุ ถิ่นกำเนิด สัญชาติ ภาษา ศาสนา ความเชื่อ ความคิดเห็น กิจกรรมทางการเมือง การปฏิบัติทางสมาคมวิชาชีพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว สุขภาพ ความพิการ รสนิยมทางเพศ หรือสาเหตุอื่น ๆ เกี่ยวกับบุคคล  
 

ฉันถูกเลือกปฏิบัติหรือไม่?

ผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติมักจะมีประสบการณ์ที่ยากลำบากและสะเทือนอารมณ์ หากคุณสงสัยว่าคุณกำลังถูกเลือกปฏิบัติ คุณสามารถติดต่อหน่วยงานในประเทศฟินแลนด์ หลาย ๆ หน่วยงาน ที่สามารถให้ความช่วยเหลือในการประเมินสถานการณ์แก่คุณได้  บุคคลต่าง ๆ อาจจะสามารถประเมินได้ยากว่า สถานการณ์นั้น ๆ ถือเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างผิดกฎหมายหรือไม่ ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคจะประเมินเรื่องของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามกฎหมายว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ 


การประเมินการเลือกปฏิบัติจะเริ่มจะการรับรู้ถึงการปฏิบัติในลักษณะต่าง ๆ กัน สิ่งสำคัญในการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติในลักษณะต่าง ๆ คือ การถามว่า: ฉันถูกปฏิบัติอย่างแตกต่างจากผู้อื่นหรือไม่? การปฏิบัติต่อบุคคลอื่นที่แตกต่างกันเพียงอย่างเดียวไม่ถือเป็นสิ่งต้องห้าม แต่จะเป็นสิ่งต้องห้ามเมื่อมูลเหตุหรือพื้นฐานของการปฏิบัตินั้นเป็นมูลเหตุในการเลือกปฏิบัติที่เป็นสิ่งต้องห้ามเนื่องจากลักษณะประจำตัวบางอย่างของบุคคล  นอกจากนี้กรณีเหล่านั้นจะต้องมีปัจจัยที่แสดงออกถึงการปฏิบัติทีแตกต่างกัน ที่เกิดจากมูลเหตุหรือพื้นฐานในการเลือกปฏิบัติที่เป็นสิ่งต้องห้ามโดยเฉพาะด้วย ตัวอย่างของ กรณีเหล่านี้อาจจะเป็นการที่ผู้ให้บริการลูกค้าระบุถึงมูลเหตุในการปฏิบัติกับลูกค้าที่แตกต่าง โดยระบุว่าเป็นเพราะถิ่นกำเนิด หรือ ความพิการของบุคคลนั้น ๆ 
 

เมื่อคุณติดต่อมาที่ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาค

ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคจะประเมินการติดต่อเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ ที่ติดต่อมายังผู้ตรวจการทั้งหมด ถึงแม้ว่าบุคคลนั้น ๆ จะรู้สึกว่าเขาเป็นผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติ แต่กรณีนั้น ๆ อาจจะไม่ใช่กรณีของการเลือกปฏิบัติตามที่กฎหมายว่าด้วยการไม่เลือกปฏิบัติได้ระบุไว้ ในสถานการณ์เหล่านี้ ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคจะไม่มีอำนาจในการประเมินสถานการณ์  ในกรณีนี้จะถือว่า สิ่งที่สมควรปฏิบัติคือการให้หน่วยราชการอื่นเป็นผู้ประเมินสถานการณ์ ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคไม่มีอำนาจในการประเมินเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติในชีวิตการทำงาน ในกรณีย่อย ๆ ด้วย 

ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคจะพยายามให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ติดต่อเข้ามาให้ดีที่สุดเท่าที่ทรัพยากรบุคคลขององค์กรสามารถจะเอื้อได้ หากผู้ตรวจการไม่เริ่มดำเนินการในเรื่องของคุณ ฝ่ายให้บริการผู้มาติดต่อจะแนะนำว่าผู้มาติดต่อจะสามารถได้รับความช่วยเหลือจากที่ไหน ประสบการณ์จากการถูกปฏิบัติอย่างไม่สมเหตุสมผลนั้นไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติทั้งหมดเสมอไป  ผู้ตรวจการไม่สามารรถยกเลิกคำตัดสินที่ออกโดยหน่วยราชการอื่นได้ด้วย 
 

ฝ่ายบริการผู้มาติดต่อ

สามารถติดต่อผู้ตรวจการด้านความเสมอภาค:
•    โดยการกรอกแบบฟอร์มการติดต่อ (ในเรื่องการเลือกปฏิบัติ)
•    ส่งอีเมลไปที่ yvv(at)oikeus.fi
•    โทรศัพท์ไปที่หมายเลขฉุกเฉิน
แผนกฉุกเฉินให้บริการทุกวันอังคาร, วันพุธ และ วันพฤหัสบดี เวลา 10 – 12 น.: โทร.: 0295 666 817
•    ส่งจดหมาย
•    แชท ทุกวันจันทร์ และวันพุธ เวลา 13-15 น. และ วันศุกร์เวลา 10-12 น. (ในเวบไซต์ของเรา)
•    จะต้องตกลงล่วงหน้าในการพบเป็นการส่วนตัวเสมอ 
สำนักงานผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคให้บริการคุณเป็นภาษาฟินนิช สวีดิช และ อังกฤษ คุณสามารถติดต่อมาในภาษาอื่นได้หากมีความจำเป็น สำนักงานให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคมีหน้าที่เก็บรักษาความลับ เช่น ในส่วนของรายละเอียดในชีวิตส่วนตัวที่ละเอียดอ่อน
 

เมื่อเรื่องของคุณมีความเกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติ

สามารถติดต่อมายังผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคหากคุณประสบหรือพบเห็นการเลือกปฏิบัติ  ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคจะให้คำปรึกษาและคำแนะนำ รวมทั้งสามารถช่วยตรวจสอบประเด็นที่สงสัยเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติได้ 

แบบฟอร์มการติดต่อ
 

เมื่อเรื่องของคุณเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์, การควบคุมการให้ออกนอกประเทศ หรือ เรื่องเกี่ยวกับชาวต่างชาติ 

ผู้ตรวจการด้านความเสมอภาคจะไม่ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการให้ออกนอกประเทศ หรือ ให้บริการผู้ใช้บริการผู้ใช้บริการเกี่ยวกับการรายงานด้านการค้ามนุษย์ 
•    ในเรื่องเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ สามารถติดต่อได้ทางอีเมล yvv(at)oikeus.fi
เหยื่อของการค้ามนุษย์มีสิทธิ์ในการได้รับความช่วยเหลือ จากระบบให้ความช่วยเหลือสำหรับเหยื่อของการค้ามนุษย์: http://www.ihmiskauppa.fi/ 
องค์กรหลาย ๆ องค์กรให้ความช่วยเหลือแก่เหยื่อของการค้ามนุษย์ด้วย เช่น หน่วยงานให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายคดีอาญา (Rikosuhripäivystys) ที่ปรึกษาผู้ลี้ภัย (Pakolaisneuvonta) ศูนย์ช่วยเหลือผู้ค้าบริการทางเพศ โปรเซนเตอร์ (Pro-tukipiste) และ องค์กรสตรีโมนิกา (Monika-Naiset liitto ry) 
•    ในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมการให้ออกจากประเทศ สามารถติดต่อมาที่อีเมล [email protected]
•    ในเรื่องเกี่ยวกับชาวต่างชาติ สามารถติดต่อมาที่อีเมล  [email protected]
 

รายละเอียดการติดต่อ

อีเมล (บริการผู้มาติดต่อ และ สำนักทะเบียน): yvv(at)oikeus.fi
การติดต่อสำหรับสื่อมวลชน / การสื่อสาร: viestinta.yvv(at)oikeus.fi
เรื่องเกี่ยวกับการค้ามนุษย์: yvv(at)oikeus.fi
เรื่องเกี่ยวกับการควบคุมการดำเนินการให้ออกนอกประเทศ: yvv(at)oikeus.fi
อีเมลของเจ้าหน้าที่ อยู่ในรูปแบบ: ชื่อ.นามสกุล(at)oikeus.fi

หมายเลขโทรศัพท์:

บริการผู้มาติดต่อ: 0295 666 817 (โทรศัพท์ เปิดให้บริการ วันอังคาร-พฤหัสฯ เวลา 10-12 น.)
สายกลาง: 0295 666 800
การติดต่อสำหรับสื่อมวลชน / การสื่อสาร: 0295 666 813 หรือ 0295 666 806
โทรสาร: 0295 666 829

ที่อยู่:

ที่อยู่ทางไปรษณีย์: สำนักงานผู้ตรวจการด้านความเสมอภาค PL 24 00023 Valtioneuvosto
ที่ตั้งสำนักงาน: Ratapihantie 9, Helsinki